พลันที่ "ดร.วิระไท สันติประภพ" ผู้ว่าการแบงก์ชาติสั่งให้แบงก์พาณิชย์ จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะ 1-3 ปีข้างหน้า และในระหว่างที่ จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนใหม่นี้ ได้ขอให้ แบงก์พาณิชย์ "งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล" จากผลการดำเนินงานในปี 2563 รวมถึง "งดการซื้อหุ้นคืน" ประกาศออกมาทำเอา "ช็อก" กันทั้งประเทศ
คำสั่งดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่แบงก์ชาติทำหนังสือถึงแบงก์พาณิชย์ในลักษณะนี้ ซึ่งถือเป็นมาตรการที่ค่อนข้างรุนแรง และก็เป็นไปตามคาด ราคาหุ้นแบงก์ร่วงรูดทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ร่วงติดลบราวๆ 8 % แม้ช่วงเช้าครึ่งวันแรกของวันอังคาร(ระหว่างการเขียนต้นฉบับ)จะตีคืนมาเป็นบวกราว 7 % ก็ตามแต่ก็เป็นสัญญาณว่าแบงก์ไทยน่าจะมีปัญหา
การที่แบงก์ชาติเอาความเชื่อถือในฐานะผู้คุมกฏมีหน้าที่ต้องรักษาเสถียรภาพทางการเงินต้องเข้าไปเสี่ยงด้วยการออกคำสั่งอย่างโจ่งแจ้งอย่างนี้ มันก็เสมือนดาบสองคม”หรือว่าแบงก์ชาติ ต้องเห็นข้อมูลอะไรบางอย่างผิดปกติแน่ๆและเห็นว่า ขืนปล่อยไว้ เศรษฐกิจไทยคงจะทรุดหนักกว่าตัวเลขที่เห็นในปัจจุบัน มิหนำซ้ำอาจจะรุนแรงในระดับวิกฤติเศรษฐกิจในปี1930 อย่างที่หลายคนคาดการณ์ไว้ก็เป็นได้
เป็นไปได้ว่า แบงค์ชาติกังวล "หนี้เสีย" ในระบบหรือ NPL เลวร้ายกว่าที่คิด "เครดิต บูโร" ส่งสัญญาณเตือนว่าตอนนี้มีหนี้เสียในระบบ อยู่ราวๆ 7- 8 แสนล้านบาท ยังไม่รวมกับหนี้เสีย ที่เกิดจากใหม่จากนโยบายของรัฐบาลและแบงก์ชาติที่ให้ "พักชำระหนี้" กับผู้ประกอบการช่วงที่มีการ "ล็อกดาวน์" ที่จะครบกำหนดในราวๆ เดือนตุลาคม
ปรากฏการณ์ดังกล่าว สะท้อนว่า เรากำลังนั่งทับ ระเบิดเวลาลูกใหญ่ชนวนของระเบิดเวลาตั้งไว้ที่ 150 วัน คือ จะระเบิดเมื่อกำหนดเวลาในการ”พักชำระหนี้” ระหว่างสถาบันการเงินกับลูกหนี้สิ้นสุดลง ภาระหนี้จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น 6 เท่า เพราะมีดอกเบี้ยทับถมกันมา ถึงเวลานั้น ไม่รู้ว่าลูกหนี้ ทั้งเอสเอ็มอีรายเล็กรายน้อยจะมีปัญญาจ่ายหนี้หรือไม่หากรวม หนี้เสียของไทยเดิมราวๆ8แสนล้านบาทรวมกับหนี้เสียก่อนใหม่ที่จะโผล่ในอีก2-3เดือนข้างหน้า ไม่รู้ว่าอีกเท่าไหร่ สมมุติว่าเท่ากันกับปัจจุบัน หนี้เสียทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว
ในเวลาต่อมา "ดร.วิระไท" อรรถาธิบายบางช่วงบางตอนเพิ่มเติมว่า ”นโยบายนี้ธนาคารกลางหลายประเทศก็ทำ เช่น ยุโรป แนะไม่ให้จ่ายเงินปันผลและไม่ให้ซื้อหุ้นคืนจนถึงตุลาคม 63 อังกฤษ ห้ามจ่ายเงินปันผลและไม่ให้ซื้อหุ้นคืน นิวซีแลนด์ งดการซื้อหุ้นคืนและงดจ่ายเงินปันผลในช่วงนี้ แคนาดา ห้ามเพิ่มเงินปันผล เป็นต้น
มองด้านหนึ่งการออกมาของแบงก์ชาติ เที่ยวนี้ เพราะเป็นการยอมรับความจริงแต่ต้องถือว่ามาช้าไปหน่อย อันที่จริงควรจะออกมาตรการนี้ควบคู่กับการมีมาตรการรับซื้อตราสารหนี้เอกชน 4แสนล้านที่เป็นออกพระราชกำหนด แต่การที่จู่ๆออกมากระทันหันในทางจิตวิทยาย่อมทำให้คนตื่นตระหนก
จนอาจจะเกิดความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย มีผลให้เศรษฐกิจเกิดภาวะชะงักงันได้ ยิ่งการประกาศอย่างเป็นทางการแบบคลอบคลุมทั้งหมดอาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี หากใช้วิธีทำกันแบบเงียบๆ แบบสมัยก่อนเวลามีอะไรไม่ชอบมาพากล ผู้ว่าแบงก์ชาติ ก็จะยกหูโทรหาเบอร์ 1 แบงก์พาณิชย์เป็นรายๆไป น่าจะดีกว่า
ไม่รู้ว่างานนี้แบงก์ชาติ ต้องการทำให้โปร่งใสหรือไม่จึงยอมเป็นหนังหน้าไฟ ออกคำสั่งแทนที่จะปล่อยให้แบงก์พาณิชย์จัดการกันเอง หรือเกรงว่าหากให้แบงก์พาณิชย์ ประกาศเองจะทำให้ประชาชนตื่นตระหนกแห่มาถอนเงินจนอาจจะทำให้เกิดความวุ่นวายจนอาจจะเกิดความเสียหายตามมามากมาย
อย่างที่ทราบว่าแบงก์พาณิชย์คือเส้นเลือดใหญ่ในระบบเศรษฐกิจไทย หากเป็นอะไรไปเศรษฐกิจไทยเกิดความเสียหายจะตามมากอีกมหาศาล จะลามถึงธุรกิจและประชาชนทั่วไปที่เป็นลูกค้าแบงก์แบงก์ อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
เมื่อแบงก์พาณิชย์สำคัญเช่นนี้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม ธปท. ต้องลุกขึ้นมาขอร่วมมือแบบนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สะสมเงินทุนสำรองให้มากที่สุด ก็ได้แต่หวังว่า หากธนาคารพาณิชย์มีเงินทุนสำรองที่เพียงพอที่จะขยายสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นนั่นหมายความว่า ย่อมจะเป็นกลไกหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้พลิกฟื้นขึ้นมาได้บ้าง ส่วนผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ก็คงต้องดูกันต่อไป
.........................................................
คอลัมน์ : เศรษฐศาสตร์ข้างทาง
โดย “ทวี มีเงิน”
"ในระหว่าง" - Google News
June 25, 2020 at 07:23AM
https://ift.tt/37XEHI5
ถอดรหัส'แบงก์ชาติ'สั่ง'งดปันผล-ซื้อหุ้นคืน' - เดลีนีวส์
"ในระหว่าง" - Google News
https://ift.tt/36HoaHq
Home To Blog
No comments:
Post a Comment