จากกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพข้าวปั้นซูชิหน้ากุ้ง และมีการเก็บตัวอย่างซูชิ 1 กล่องที่ได้รับการร้องเรียน จำนวน 5 ชิ้น มีหน้ากุ้งดิบ 1 ชิ้น ส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์ และมีตัวอย่างซูชิหน้ากุ้งสุกที่อีก 1 ตัวอย่าง ที่ อย.ได้เก็บตัวอย่างจากซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งเดียวกัน ไปส่งตรวจพร้อมกัน
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยผลการตรวจสอบ ไม่พบการเรืองแสง แต่พอนำตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีเพาะเชื้อ โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อ ผลตรวจพบการปนเปื้อนของแบคทีเรียเรืองแสงในที่มืด ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจยืนยัน เพื่อให้ทราบชนิดของเชื้อแบคทีเรียต่อไป
สำหรับการเรืองแสงในที่มืด พบในอาหารทะเลหรือสัตว์ทะเลบางชนิด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเรืองแสง ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทะเลหรือมหาสมุทร โดยแบคทีเรียชนิด Photobacterium phosphoreum พบได้บ่อยที่สุด
การตรวจพบแบคทีเรียเรืองแสงในซูชิทั้ง 2 ตัวอย่าง น่าจะมาจากกุ้งที่นำมาแต่งหน้า สาเหตุ อาจมาจากการปนเปื้อนตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ สำหรับกุ้งดิบ คาดว่าได้ผ่านกระบวนการผลิตบางอย่างเพื่อทำลายเชื้อจุลินทรีย์มาระดับหนึ่ง เช่น แช่ในสารละลายคลอรีน แต่อาจไม่เพียงพอ หรือหากเป็นหน้ากุ้งสุก อาจต้มสุกไม่ทั่วถึง ทั้ง 2 ตัวอย่าง จึงมีเชื้อแบคทีเรียเรืองแสงหลงเหลืออยู่ หรืออาจเกิดสุขลักษณะการผลิตที่ไม่ดีของการทำซูชิ ทำให้เกิดการปนเปื้อนจากอาหารทะเลดิบอื่นๆ มายังซูชิ ทั้งมือของผู้ทำซูชิเอง หรืออุปกรณ์เครื่องครัวที่ไม่สะอาด
แม้ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการก่อโรคในคนจากเชื้อแบคทีเรียเรืองแสงในที่มืด แต่ก็ไม่ควรบริโภคอาหารที่เรืองแสง เพราะการเรืองแสง บ่งชี้ได้ว่าอาหารมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียเรืองแสงในปริมาณสูง ซึ่งทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียได้ อาหารทะเลที่เน่าเสียอาจเป็นพิษต่อผู้บริโภค เกิดสารฮีสตามีน (Histamine) ทนความร้อน และถ้ากินเข้าไปในปริมาณมากอาจเสียชีวิตได้
"ในระหว่าง" - Google News
August 02, 2020 at 09:48AM
https://ift.tt/3172pi8
ภาพเป็นข่าว : ผลตรวจพบแบคทีเรียในซูชิเรืองแสง - ช่อง 7
"ในระหว่าง" - Google News
https://ift.tt/36HoaHq
Home To Blog
No comments:
Post a Comment