แนวโน้ม ค่าเงินบาท แข็งค่า หลังขยับแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 5 เดือน ขณะหุ้นสวนทาง ได้รับแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ และแนวโน้มการติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกเพิ่ม
เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค โดยมีอานิสงส์จากสัญญาณทยอยคลายล็อกดาวน์เศรษฐกิจ และการออกมายืนยันว่า ข้อตกลงทางการค้าสหรัฐฯ และจีนในเฟสแรกยังเป็นไปตามเดิม
นอกจากนี้ เงินบาทยังแข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่องหลัง กนง. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ตามเดิม
อย่างไรก็ดี กรอบการแข็งของ ค่าเงินบาท ชะลอลงเนื่องจากเงินดอลลาร์ ยังมีแรงหนุนเป็นระยะจากสถานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และสัญญาณเสี่ยงต่อการระบาดซ้ำของโรคในหลายประเทศ
ในวันศุกร์ (26 มิ.ย.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 30.90 หลังแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 5 เดือนที่ 30.81 บาทต่อดอลลาร์ ในระหว่างสัปดาห์ เทียบกับระดับ 31.01 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 มิ.ย.)
สัปดาห์ถัดไป (29 มิ.ย.-3 ก.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 30.70-31.20 บาทต่อดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือนพ.ค. และอัตราเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. ของไทย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิต ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย. ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย. และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 9-10 มิ.ย.
นอกจากนี้ ตลาดอาจรอติดตามถ้อยแถลงของประธานเฟด ดัชนี PMI เดือน มิ.ย. ของประเทศชั้นนำอื่นๆ และสถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศด้วยเช่นกัน
หุ้นไทยปรับตัวลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,330.34 จุด ลดลง 2.95% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 56,755.43 ล้านบาท ลดลง 20.51% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 2.08% จากสัปดาห์ก่อน มาปิดที่ 295.96 จุด
หุ้นไทยร่วงลงช่วงต้นสัปดาห์ตามแรงกดดันในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังธปท. กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและงดซื้อหุ้นคืน ดัชนีหุ้นไทยลดลงต่อเนื่องช่วงกลางสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลต่อการทรุดตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจากผลกระทบของโควิด-19 หลัง IMF ประเมินจีดีพีโลกปีนี้ที่ -4.9%
ขณะที่ กนง. ปรับลดตัวเลขคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้ลงมาที่ -8.1% อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางแรงหนุนที่ว่าประเทศต่างๆ จะยังคลายล็อกเศรษฐกิจแม้จะมีความเสี่ยงการระบาดซ้ำของโควิด-19
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (29 มิ.ย.-3 ก.ค.) บริษัท หลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,320 และ 1,300 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,350 และ 1,365 จุด ตามลำดับ
ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การพิจารณาผ่อนปรนกิจการ/กิจกรรมเฟสต่อไป สถานการณ์โควิด-19 รวมถึงสถานการณ์ระหว่างสหรัฐฯและประเทศคู่ค้า
ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ บันทึกการประชุมเฟด ดัชนี PMI ภาคการผลิต ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนมิ.ย.
ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ ยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค. ของญี่ปุ่น ดัชนี PMI ภาคการผลิต/บริการเดือนมิ.ย. ของจีน ญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิ.ย. (เบื้องต้น) ของยูโรโซน
"ในระหว่าง" - Google News
June 27, 2020 at 01:26AM
https://ift.tt/2BKCR0W
แนวโน้ม 'บาทแข็ง-หุ้นแกว่ง' จากข้อมูลเศรษฐกิจแย่-ติดโควิด-19 ทั่วโลกพุ่ง - Businesstoday
"ในระหว่าง" - Google News
https://ift.tt/36HoaHq
Home To Blog
No comments:
Post a Comment